ทริปเปิ้ลอเมซิ่ง

ไม้สีดอกสวย ดอก 3 ชั้น ของดีหาดูได้ง่ายแต่เลี้ยงดูไม่ง่ายต้องเข้าใจถึงจะได้ของดีไว้ดูนานๆ ของขวัญจากธรรมชาติสร้างต่อยอดด้วยฝีมือมนุษย์จนได้ไม้สวยๆ ออกมา.

ลองของกับ 3 ขา

3 ขา 2 แขน ชวนชมจะสวยขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนเลี้ยง ต้นนี้ธรรมชาติให้มาแบบนี้ก็จะลองปล่อยเขาโตตามใจเขาเลย.

หัสดีพิงค์

ไม้สีดอกสวย ดอกใหญ่ กลีบดอกซ้อน 3 ชั้น ปกติจะออกดอกเดี่ยว ถ้าใครบำรุงดีจะออกดอกใหญ่เป็นพวง ดอกบานแล้วอยู่ได้นาน ส่วนมากจะนำมาต่อยอดกับตอใหญ่หรือตอลีลา.

ราชินีพันดอก

ไม้ในตำนาน เป็นไม้ที่นักเล่นชวนชมจะต้องมีติดบ้านไว้อย่างน้อย 2-3 ต้น ด้วยลักษณะพิเศษ เป็นไม้ใหญ่ ผิวดี รากสวย ดอกดกเป็นพวง สวยทั้งต้นเพาะเมล็ดหรือกิ่งตอนจัดราก.

Tuesday, December 17, 2013

ชวนชม พันธุ์ฮอลแลนด์และพันธุ์ไทย แตกต่างกันอย่างไร

      หลังจากที่ได้รู้จักชวนชมมาไม่นาน  ก็ได้ข้อมูลมาว่าไอ้ชวนชมแบบบ้านๆ ที่เห็นอยู่ต้นที่มันสูง ๆ นั้นมี 2 สายพันธุ์ ก็เลยต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมใส่ความรู้ซะหน่อยแล้ว เพราะว่าผมดูเผินๆ แล้วก็ดูไม่รู้เรื่อง เรามาเริ่มกันเลย

พันธุ์ฮอลแลนด์และพันธุ์ไทย
    ชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์จะมีความอดทน ทนแร้งได้ดีแต่ก็ดีน้อยกว่าพันธุ์ไทย   แต่ในเรื่องของการจัดรากก็ต้องยอมรับว่า ชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์มีลีลาการเล่นรากได้แพรวพราวกว่าชวนชมพันธุ์ไทยหลายเท่าตัวนัก ทำให้ชวนชม 2 สายพันุธ์นี้มีความโดดเด่นแตกต่างกัน





ดอกของชวนชมฮอลแลนด์และพันธุ์ไทย
      ชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์ปลายกรีบดอกจะไม่มีติ่งแหลมยื่นออกมา ส่วนชวนชมพันธุ์ไทยจะมีติ่งแหลมยื่นออกมาที่ปลายกรับทุกกลีบและยังมีเส้นสีแดง 1 เส้นจากกรวยดอกลากยาวมาถึงปลายกลีบดอกทุกกลีบ



ใบของชวนชมฮอลแลนด์และพันธุ์ไทย
    ชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์ใบจะไม่เรียวแหลม ปลายใบจะมีขนาดกลม มนใหญ่  ชวนชมพันธุ์ไทยใบจะเรียวกว่าพันธุ์ออลแลนด์ ปลายใบจะไม่มน ไม่ใหญ่


 
      และนี้คือข้อมูลพอสังเขบที่จะเอามาดูประกอบได้บ้างว่าความแตกต่างของชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์และชวนชมพันธุ์ไทยมันมีลักษณะต่างกันอย่างไร


อ้างอิง
http://www.pantown.com/board.php?id=30284&area=3&name=board10&topic=18&action=view
http://www.pantown.com/board.php?id=30284&area=3&name=board10&topic=17&action=view
http://cpadenium.blogspot.com/2011/09/blog-post_19.html



Saturday, December 14, 2013

เรื่องของหัวเชื้อ "จุลินทรีย์หน่อกล้วย" กับชวนชม ???

    เรื่องของหัวเชื้อ "จุลินทรีย์หน่อกล้วย" จะเอามาใช้เร่งราก ชวนชมได้จริงใหม....จากข้อมูลที่หามาได้  ก็ไม่มีที่ใหนบอกนะว่า "จุลินทรีย์หน่อกล้วย"นี้จะใช้ได้ดีกับชวนชมเพราะว่ามันก็เป็นสูตรที่ใช้กันโดยรวมมากกว่า

รู้ที่มาที่ไปของจุลินทรีย์หน่อกล้วยกันก่อนเลย

ส่วนที่ 1 ทำไมถึงเรียกว่า "จุลินทรีย์หน่อกล้วย" 
เพราะว่าจากการบังแสงแดดของใบกล้วย ทำให้ส่วนกกนั้นมีความชุ่มชื่นจนเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ และรวมไปถึงไส้เดือนก็จะมาอาศัยอยู่กินแถวนั้นจนเกิดมูลของมันที่มีคุณค่าของสารอาหารและเจ้าจุลินทรีย์เหล่านั้นก็จะอาศัยอยู่กันบริเวณกกต้นกล้วย  นี้คือที่มาของ จุลินทรีย์ และหน่อกล้วยที่อุดมสมบรูณ์   และต้องทำการตัดเก็บตั่งแต่เช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นด้วยถึงจะดีที่สุด ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง ซื่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน

ส่วนที่ 2  ยางกล้วยก็มีคุณสมบัติพิเศษเช่นกัน
ในยางกล้วยจะมีสารที่ชื่อว่า "สารแทนนิน" อยู่จำนวนมากสามารถเอาไปควบคุมโรคของพืชได้อีกด้วย




ส่วนผสม
1. เลือกหน่อกล้วยความสูงไม่เกิน 1 ม.จากกกถึงยอด ดูแล้วต้องเป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค  ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งออกไป ไม่ต้องล้างน้ำ เอามาสับเล็กหรือทุบ หรือ บดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น ) เอาแค่ 3 กก.ก็พอ

2. กากน้ำตาล 1 กก. (3:1) 

วิธีทำ 
เราจะหมักในภาชนะที่เป็นพลาสติกมีฝาปิด  เก็บไว้ในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก  จากนั้นคนเช้า-เย็นทุกวัน  จนครบ7 วันแล้วคั้นเอาน้ำออกเก็บๆ ไว้ได้นาน 6 เดือน ในกรณีต้องการใช้มากให้ขยายเชื้อโดยใช้สูตรขยาย

ประโยชน์และวิธีใช้
1.ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และ กำจัดเชื้อโรคในดิน ผสมจุลินทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดลงดินร่วมไปพร้อมๆกับการให้น้ำ ซึ่งการใช้ในแต่ละครั้ง รวมทั้งหมดแล้ว อย่าให้เกิน 5 ลิตร ต่อ ไร่ 

2.ป้องกันกำจัดโรคพืช โดยผสมจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน เหล้าขาว 35 ดีกรี 1 ส่วน และน้ำส้มสายชูกลั่น 5% 1 ส่วน หมัก 24 ชั่วโมง ใช้ 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับฉีดพ่นล้างน้ำฝนหลังฝนหยุดตก  โดยเฉพาะฝนที่ตกหลังหลังช่วงแล้วมานานเกิน 3 เดือน ล้างหมอกอุ่นแดดออก และฉีดพ่นกันน้ำค้างตอนเย็นเพื่อป้องกันโรคพืช

3.ปรับปรุงคุณภาพน้ำในร่องสวน สระเก็บกักน้ำ และบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร ต่อน้ำ 10,000 ลิตร

4.ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์ ฉีดพ่นด้วยน้ำจุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร

5.เร่งการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุ หรือดับกลิ่นขยะของเน่าเสีย ฉีดพ่นด้วย จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร กรณีหมักฟางในนาข้าว ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ลิตร ต่อ พื้นนา 1 ไร่

6.ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

7.ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้.....ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำ ค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้


8.จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก


อ่านจบแล้วไม่มีส่วนใหนบอกว่าเร่งรากเลย...ต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับตัว K กันต่อไปอีก

Tuesday, April 16, 2013

สายพันธุ์ชวนชมต่างๆ ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

ชวนชมสวย    1.ฮอลแลนด์ (Obesum)
        มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบทางตอนใต้ของซาอีลแทนซาเนีย ซิมบักเวย์  เคนย่า  เป็นชนิดแรกที่นำเข้ามาในประเทศไทย  สันนิษฐานว่านะจะนำเข้ามาจากดินโดนีเซีย  ซึ่ง ชวนชมสายพันธุ์นี้พบเห็นกันทั่วไปในประเทศไทย  จนบางครั้งถูกเรียกว่าพันธุ์ไทย หรือพันธุ์พื้นเมือง  ลักษณะเด่นของชวนชมชนิดนี้ ลำต้นจะแตกกิ่งแขนงมาก  โขดไม่ค่อยใหญ่  ใบมัน  ไม่มีขนสีเขียวอ่อน ดอกสีชมพู  กลีบดอกสีชมพูเข้ม กรวยดอกสีเหลือง มีระยางค์อันเรณู  5  เส้น ต่อมาภายหลังมีการนำเข้าไม้ชนิดนี้จาก สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์  ไต้หวัน  และมีการปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโขดขนาดใหญ่ขึ้นและสีสรรของดอกมีความหลากหลายสวยสดงดงาม จัดเป็นไม้สียอดนิยม และมีชื่อเรียกขานมากมายหลายร้อยชื่อ     

2.ยักษ์ญี่ปุ่น (Somalense)
2.1) ยักษ์ญี่ปุ่น
     มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบที่แทนซาเนียโซมาเลีย เคนย่า เป็นชวนชมยักษ์ชนิดหนึ่ง  ที่มีลำต้นตรงใหญ่ สูงชะลูด แตกกิ่งด้านข้างน้อย  ใบเรียวแคบ ใบไม่มี ขน ใบสีเขียวสดใส เห็นเส้นใบขาวเด่นชัด  ดอกมีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ดอกสีชมพู หรือแดง  กรวยดอกมีเส้นสีเหลืองชัดเจน 15-25 เส้น เป็นไม้ที่ออกดอกดกมาก  จะทิ้งใบหมดหากกระทบแล้ง และออกดอกตามลำต้นและกิ่งหลัก  เคยมีผู้พบเห็นในท้องถิ่นเดิมของอาฟริการายงานว่าสูงกว่า 5 เมตร มีโคนใหญ่กว่าถัง 200 ลิตร

2.2) ยักษ์ญี่ปุ่นแคระ
มี ถิ่นกำเนิดในอาฟริกา  พบที่โซมาเลีย  แทนซาเนีย เคนย่า  เป็นไม้พุ่มเตี้ย  มีโขดกลมอยู่ใต้ดิน  ใบเรียวแคบยาวแหลม  ขอบใบหยิกเป็นคลื่น  ใบมันไม่มีขน ใบมีสีเขียว หรือสีเทาหรือสีน้ำตาล  เห็นเส้นใบชัดเจน ดอกมีขนาดเล็ก ดอกสีชมพู แดง หรือ ลาย  กรวยดอกมีเส้นสีชัดเจน ประมาณ 15 เส้น  เป็นไม้ที่ออกดอกดกมากช่วงการบานนาน  สายพันธุ์นี้นำเข้ามาในประเทศไทยจากแหล่งเพาะพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ปลูกเลี้ยงกันในชื่อ  ยักษ์แคระอเมริกา  ยักแคระลำลูกกา ลินฟอร์มาซา    และอื่นๆ  อีกมากมายหลายชนิด  ในปัจจุบันมีการนำไม้ชนิดนี้มาปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ทั้งในและต่าง ประเทศ  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีใบและดอกสีสวยสดงดงามมากมายหลายชนิด  จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "กลุ่มลูกผสมยักษ์ญี่ปุ่นแคระ"   ปัจจุบันมีการนำไม้ชนิดนี้มาทำเป็นไม้สีเสียบยอด และมีการจำหน่ายรวมกันกับไม้สีเสียบยอด" กลุ่มลูกผสมฮอลแลนด์ "  จนบางครั้งหากไม่สังเกตุให้ดี  จะแบ่งแยกไม้สองกลุ่มดังกล่าวข้างต้นไม่ค่อยออก
2.3) ยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม
มัก เป็นลูกผสมระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับฮอลแลนด์ ในประเทศไทยมักมีการปลูกรวมกันระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับฮอลแลนด์ในแหล่งเพาะ เลี้ยงต่างๆ ทำให้เกิดลูกผสมที่หลากหลายและมากมาย และมักได้ลักษณะลูกผสมที่ดีทั้ง ดอก ลำต้น และโขด มากมายนานาชนิด

3.ยักษ์ซาอุ (Arabicum - Yak Saudi) 
โขดอยู่ที่โคนต้น สามารถผลัดใบได้เอง มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ  ทางตอนใต้และตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ  ลำต้นสูงใหญ่  ส่วนใหญ่ใบมักมีขนละเอียดนุ่ม  ดอกมักมีสีชมพูและมีขนาดเล็ก  ออกดอกตามกิ่งก้านหรือลำต้น ฝักมักมีสีแดงเข้ม  ฝักและเมล็ดมักมีขนาดใหญ่  ชวนชมชนิดนี้สามารถแบ่งลักษณะลำต้นออกเป็น  2  ลักษณะดังนี้ -  ลำต้นสูงแบบไม้ยืนต้น  จะมีลำต้นที่สูงชะลูด  ลำต้นจะแตกออกจากฐานโขดหลายลำ  ลำต้นชี้ขึ้นตรงมักเจริญติบโตในแนวสูงมากกว่าการขยายในแนวราบ  อาจสูงได้ถึง  4  เมตร  ที่พบเห็นในประเทศไทยเช่น  ยักษ์หน้าวัง  เป็นต้น -  ลำต้นเตี้ย  ลำต้นจะขึ้นเป็นแท่งหลายแท่งจากฐานโขด  มักเจริญเติบโตในแนวราบ  มากกว่าแนวสูง  ฐานโขดมักมีขนาดใหญ่  โขดอาจมีขนาดใหญ่ถึง 1 เมตร  สูงประมาณ 2.50 เมตร  ที่พบเห็นในประเทศไทย เช่น  ยักษ์เยเมน เป็นต้น ชวนชมชนิดนี้ส่วนใหญ่ทะยอยนำเข้ามาในประเทศไทย  ทั้งเมล็ด กิ่ง และต้น จากผู้ที่เคยทำงานในตะวันออกกลางตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมา  ซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง  หลายสายพันธุ์  ชวนชมชนิดนี้มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าชวนชมพื้นเมืองทั่วไป เพราะโขดมีขนาดใหญ่กว่ามาก  ในบ้านเรานั้นมักเรียกชื่อสายพันธุ์ตามแหล่งที่นำไปเพาะเลี้ยง เช่น ยักษ์ลพบุรี  ยักษ์สิงห์บุรี  เพชรเมืองคง(โคราช) เป็นต้น  ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีความแตกต่างกันไป  ปัจจุบันมีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ไปมาก  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดรุ่นใหม่ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์แตกต่างจากสาย พันธุ์ดั้งเดิมมาก

4.โซโคทานั่ม (Thai Socotranum) 
มีถิ่นกำเนิดในเขตอาหรับตอนใต้  จะพบได้มากที่สุดที่เกาะโซโคทร้าของเยเมน  ถือว่าเป็นชวนชมยักษ์ที่แท้จริง มีรายงานว่าพบสูงถึง 6 เมตร  โขดกว้างเกือบ 2 เมตรครึ่ง  ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเห็นความแตกต่างจากชวนชมชนิดอื่นได้อย่างชัดเจน  เอกลักษณ์เฉพาะตัวคือลำต้นจะขึ้นเป็นแท่งๆ เดียว  ดูคล้ายบอนไซหรือต้นไม้ที่มีรากชี้ฟ้า  ส่วนโขดจะมีรากที่ใหญ่บิดงอซับซ้อนสวยงามมาก  ดอกดก  ออกดอกประมาณปีละ 2 ครั้ง  ในฤดูหนาวและฤดูร้อน  ดอกสีชมพูมีขนาดเล็ก  เวลาออกดอกมักทิ้งใบ  ใบมันไม่มีขน  สีเขียวเข้ม มีสีเส้นกลางใบชัดเจน สำหรับประเทศไทยเรา  มีผู้ไปทำงานที่ซาอุดิอาราเบีย นำกิ่งปักชำมาปลูกไว้ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เพชรบ้านนา”  นอกจากนั้นยังมีผู้นำเข้าต้นกล้าขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยมาปลูกและเพาะเลี้ยง ที่ ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นที่มาของ “ยักษ์หนองแหน (ดำริสิทธิโชค) ” ต่อมาภายหลังมีผู้นำลูกไม้ของยักษ์หนองแหนไปปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเทริงเทรา ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เพชรหนองแหน” หรือเจ้าของเรียกว่า “ดำริสิทธิโชค”  ต่อมาภายหลังมีผูนำลูกไม้ของเพชรหนองแหน ไปปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จึงเป็นที่มาของชื่อ “ยักษ์บางคล้า”  ในการนำเข้ามาในบ้านเราครั้งแรกนั้น  เข้าใจว่าเป็นยักษ์อาหรับหรือยักษ์ซาอุ ธรรมดา  ต่อมาภายหลังจึงค้นพบเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความแน่นอนชัดเจน  จึงได้แน่ใจกันว่าเป็นสายพันธุ์ “โซโคทรานั่ม” ตามธรรมชาติชวนชมชนิดนี้ติดฝักค่อนข้างยาก  แต่ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีความนึ่งของสายพันธุ์สูงและมักไม่กลาย พันธุ์  จัดเป็นชวนชมสายพันธุ์ที่มีน้อยที่สุดและหาได้ยากมากที่สุด  ทั้งในประเทศ และในโลกนี้  ดังนั้นทั้งเมล็ด  ต้นกล้า  ต้นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จึงมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด  และมีราคาอยู่ในระดับสูงมาก

Monday, April 15, 2013

สายพันธุ์ชวนชมมี 2 กลุ่ม


สายพันธุ์ชวนชมมี 2 กลุ่ม


กลุ่มแรกตามแนวฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา มี 7 สายพันธุ์
1. Adenium obesum Balf. f. เป็นพวกไม้สีสายพันธุ์ฮอลแลนด์ต่างๆ
2. Adenium multiflorum Kiotzsch เป็นยักษ์อาฟริกา หรือ แดงเอ หรือ แดงอาฟ
3. Adenium swazicum Stapf เป็นกลุ่มพวกใบเรียวบิดเล็กพับมีขน ดอกมีสีเดียวกันทั้งดอกจนถึงในกรวยดอก เช่นช็อคกิ้งพิ้ง
4. Adenium bomianum Schinz เป็นพวกใบกว้างใหญ่มีขน ดอกมีสีเดียวกันถึงกรวยดอก เช่น ลักกี้พิ้งค์
5. Adenium olifolium Stapf เป็นพวกยักษ์ใบแบนแคบรูปใบพาย มีขน เช่นพันธุ์บลูฮาวาย
6. Adenium somalense var. somalense Balf. f. เป็นยักษ์ใบเรียวยาวแคบ เส้นใบขาวชัดเจน ไม่มีขน ลำต้นใหญ่สูง ดอกเล็ก มีเส้นนำน้ำหวานในกรวยดอกเห็นชัดเจน กลีบดอกละ 3 เส้น รวม 15 เส้น เช่นยักษ์ญี่ปุ่น
7. Adenium somalense var. crispum เป็นกลุ่มยักษ์ญี่ปุ่นแคระ ใบเรียวเล็กแคบ เส้นใบขาวเห็นชัดเจน ดอกเล็ก มีเส้นนำน้ำหวานในกรวยดอก 15 เส้น เช่นเดียวกับยักษ์ยี่ปุ่น แต่ลำต้นมีขนาดเล็กเตี้ย มีโขดหัวเตี้ย เช่น ลินลี่พุท


กลุ่มที่ 2 มี 2 สายพันธุ์ พบอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ
1. Adenium arabicum Balf. f. เป็นพวกยักษ์ซาอุฯต่างๆ มีโขดเตี้ย มีค้นขึ้นมาจากโขดหลายต้น และไปแตกแขนงกิ่งอีกที เช่นเพชรหน้าวัง , เพชรเมืองคง , ราชินีฯ , ยักษ์พญาชาละวันดำ ,ยักษ์ดำ , ยักษ์ลพบุรี เป็น
2. Adenium socotranum Vierh. เป็นพวกยักษ์ลักษณะเหมือต้นไม้กลับหัวเอารากขึ้นบน ใบมันไม่มีขน เช่น เพชรบ้านนา มงกุฏเพชร มงกุฏทอง เป็นต้น

อ้างอิง : ไพสิฐฟาร์ม