
มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบทางตอนใต้ของซาอีลแทนซาเนีย ซิมบักเวย์ เคนย่า เป็นชนิดแรกที่นำเข้ามาในประเทศไทย สันนิษฐานว่านะจะนำเข้ามาจากดินโดนีเซีย ซึ่ง ชวนชมสายพันธุ์นี้พบเห็นกันทั่วไปในประเทศไทย จนบางครั้งถูกเรียกว่าพันธุ์ไทย หรือพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่นของชวนชมชนิดนี้ ลำต้นจะแตกกิ่งแขนงมาก โขดไม่ค่อยใหญ่ ใบมัน ไม่มีขนสีเขียวอ่อน ดอกสีชมพู กลีบดอกสีชมพูเข้ม กรวยดอกสีเหลือง มีระยางค์อันเรณู 5 เส้น ต่อมาภายหลังมีการนำเข้าไม้ชนิดนี้จาก สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์ ไต้หวัน และมีการปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโขดขนาดใหญ่ขึ้นและสีสรรของดอกมีความหลากหลายสวยสดงดงาม จัดเป็นไม้สียอดนิยม และมีชื่อเรียกขานมากมายหลายร้อยชื่อ
2.ยักษ์ญี่ปุ่น (Somalense)
2.1) | ยักษ์ญี่ปุ่น |
มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบที่แทนซาเนียโซมาเลีย เคนย่า เป็นชวนชมยักษ์ชนิดหนึ่ง ที่มีลำต้นตรงใหญ่ สูงชะลูด แตกกิ่งด้านข้างน้อย ใบเรียวแคบ ใบไม่มี ขน ใบสีเขียวสดใส เห็นเส้นใบขาวเด่นชัด ดอกมีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ดอกสีชมพู หรือแดง กรวยดอกมีเส้นสีเหลืองชัดเจน 15-25 เส้น เป็นไม้ที่ออกดอกดกมาก จะทิ้งใบหมดหากกระทบแล้ง และออกดอกตามลำต้นและกิ่งหลัก เคยมีผู้พบเห็นในท้องถิ่นเดิมของอาฟริการายงานว่าสูงกว่า 5 เมตร มีโคนใหญ่กว่าถัง 200 ลิตร |
2.2) | ยักษ์ญี่ปุ่นแคระ |
มี ถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบที่โซมาเลีย แทนซาเนีย เคนย่า เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีโขดกลมอยู่ใต้ดิน ใบเรียวแคบยาวแหลม ขอบใบหยิกเป็นคลื่น ใบมันไม่มีขน ใบมีสีเขียว หรือสีเทาหรือสีน้ำตาล เห็นเส้นใบชัดเจน ดอกมีขนาดเล็ก ดอกสีชมพู แดง หรือ ลาย กรวยดอกมีเส้นสีชัดเจน ประมาณ 15 เส้น เป็นไม้ที่ออกดอกดกมากช่วงการบานนาน สายพันธุ์นี้นำเข้ามาในประเทศไทยจากแหล่งเพาะพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ปลูกเลี้ยงกันในชื่อ ยักษ์แคระอเมริกา ยักแคระลำลูกกา ลินฟอร์มาซา และอื่นๆ อีกมากมายหลายชนิด ในปัจจุบันมีการนำไม้ชนิดนี้มาปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ทั้งในและต่าง ประเทศ ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีใบและดอกสีสวยสดงดงามมากมายหลายชนิด จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "กลุ่มลูกผสมยักษ์ญี่ปุ่นแคระ" ปัจจุบันมีการนำไม้ชนิดนี้มาทำเป็นไม้สีเสียบยอด และมีการจำหน่ายรวมกันกับไม้สีเสียบยอด" กลุ่มลูกผสมฮอลแลนด์ " จนบางครั้งหากไม่สังเกตุให้ดี จะแบ่งแยกไม้สองกลุ่มดังกล่าวข้างต้นไม่ค่อยออก |
2.3) | ยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม |
มัก เป็นลูกผสมระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับฮอลแลนด์ ในประเทศไทยมักมีการปลูกรวมกันระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับฮอลแลนด์ในแหล่งเพาะ เลี้ยงต่างๆ ทำให้เกิดลูกผสมที่หลากหลายและมากมาย และมักได้ลักษณะลูกผสมที่ดีทั้ง ดอก ลำต้น และโขด มากมายนานาชนิด |
3.ยักษ์ซาอุ (Arabicum - Yak Saudi)
โขดอยู่ที่โคนต้น สามารถผลัดใบได้เอง มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ ทางตอนใต้และตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ ลำต้นสูงใหญ่ ส่วนใหญ่ใบมักมีขนละเอียดนุ่ม ดอกมักมีสีชมพูและมีขนาดเล็ก ออกดอกตามกิ่งก้านหรือลำต้น ฝักมักมีสีแดงเข้ม ฝักและเมล็ดมักมีขนาดใหญ่ ชวนชมชนิดนี้สามารถแบ่งลักษณะลำต้นออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้ - ลำต้นสูงแบบไม้ยืนต้น จะมีลำต้นที่สูงชะลูด ลำต้นจะแตกออกจากฐานโขดหลายลำ ลำต้นชี้ขึ้นตรงมักเจริญติบโตในแนวสูงมากกว่าการขยายในแนวราบ อาจสูงได้ถึง 4 เมตร ที่พบเห็นในประเทศไทยเช่น ยักษ์หน้าวัง เป็นต้น - ลำต้นเตี้ย ลำต้นจะขึ้นเป็นแท่งหลายแท่งจากฐานโขด มักเจริญเติบโตในแนวราบ มากกว่าแนวสูง ฐานโขดมักมีขนาดใหญ่ โขดอาจมีขนาดใหญ่ถึง 1 เมตร สูงประมาณ 2.50 เมตร ที่พบเห็นในประเทศไทย เช่น ยักษ์เยเมน เป็นต้น ชวนชมชนิดนี้ส่วนใหญ่ทะยอยนำเข้ามาในประเทศไทย ทั้งเมล็ด กิ่ง และต้น จากผู้ที่เคยทำงานในตะวันออกกลางตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง หลายสายพันธุ์ ชวนชมชนิดนี้มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าชวนชมพื้นเมืองทั่วไป เพราะโขดมีขนาดใหญ่กว่ามาก ในบ้านเรานั้นมักเรียกชื่อสายพันธุ์ตามแหล่งที่นำไปเพาะเลี้ยง เช่น ยักษ์ลพบุรี ยักษ์สิงห์บุรี เพชรเมืองคง(โคราช) เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีความแตกต่างกันไป ปัจจุบันมีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ไปมาก ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดรุ่นใหม่ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์แตกต่างจากสาย พันธุ์ดั้งเดิมมาก
4.โซโคทานั่ม (Thai Socotranum)
มีถิ่นกำเนิดในเขตอาหรับตอนใต้ จะพบได้มากที่สุดที่เกาะโซโคทร้าของเยเมน ถือว่าเป็นชวนชมยักษ์ที่แท้จริง มีรายงานว่าพบสูงถึง 6 เมตร โขดกว้างเกือบ 2 เมตรครึ่ง ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเห็นความแตกต่างจากชวนชมชนิดอื่นได้อย่างชัดเจน เอกลักษณ์เฉพาะตัวคือลำต้นจะขึ้นเป็นแท่งๆ เดียว ดูคล้ายบอนไซหรือต้นไม้ที่มีรากชี้ฟ้า ส่วนโขดจะมีรากที่ใหญ่บิดงอซับซ้อนสวยงามมาก ดอกดก ออกดอกประมาณปีละ 2 ครั้ง ในฤดูหนาวและฤดูร้อน ดอกสีชมพูมีขนาดเล็ก เวลาออกดอกมักทิ้งใบ ใบมันไม่มีขน สีเขียวเข้ม มีสีเส้นกลางใบชัดเจน สำหรับประเทศไทยเรา มีผู้ไปทำงานที่ซาอุดิอาราเบีย นำกิ่งปักชำมาปลูกไว้ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เพชรบ้านนา” นอกจากนั้นยังมีผู้นำเข้าต้นกล้าขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยมาปลูกและเพาะเลี้ยง ที่ ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นที่มาของ “ยักษ์หนองแหน (ดำริสิทธิโชค) ” ต่อมาภายหลังมีผู้นำลูกไม้ของยักษ์หนองแหนไปปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเทริงเทรา ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เพชรหนองแหน” หรือเจ้าของเรียกว่า “ดำริสิทธิโชค” ต่อมาภายหลังมีผูนำลูกไม้ของเพชรหนองแหน ไปปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จึงเป็นที่มาของชื่อ “ยักษ์บางคล้า” ในการนำเข้ามาในบ้านเราครั้งแรกนั้น เข้าใจว่าเป็นยักษ์อาหรับหรือยักษ์ซาอุ ธรรมดา ต่อมาภายหลังจึงค้นพบเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความแน่นอนชัดเจน จึงได้แน่ใจกันว่าเป็นสายพันธุ์ “โซโคทรานั่ม” ตามธรรมชาติชวนชมชนิดนี้ติดฝักค่อนข้างยาก แต่ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีความนึ่งของสายพันธุ์สูงและมักไม่กลาย พันธุ์ จัดเป็นชวนชมสายพันธุ์ที่มีน้อยที่สุดและหาได้ยากมากที่สุด ทั้งในประเทศ และในโลกนี้ ดังนั้นทั้งเมล็ด ต้นกล้า ต้นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จึงมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด และมีราคาอยู่ในระดับสูงมาก
0 comments:
Post a Comment